Translate

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

พบสถิติหญิงไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกลันละ 14 ราย

              สาเหตุเกิดจาก เชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HPV(Human Papilloma Virus) ภาษาไทยเรียกกันว่า ไวรัสหูด  ไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิว หรือเยื่อบุ และเชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จากปากมดลูกปกติกลายเป็นระยะก่อนเป็น มะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้แล้วการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงก็อาจทำให้โอกาสเกิดโรคได้มากขึ้น


ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งปากมดลูกได้แก่
  • การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน
  • การคลอดบุตรจำนวนหลายคน
  • การสูบบุหรี่
  • การมีภาวะคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะเป็นโรคเอดส์
  • การสูบบุหรี่
  • พันธุกรรม
  • การขาดสารอาหารบางชนิด
  • ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก
  • ผู้ชายที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • ผู้หญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
  • ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก
  • ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน


อาการที่พบในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
               อาการระยะแรกที่เป็นอาจไม่แสดงอาการจะพบได้จากการตรวจภายในหาความผิดปกติของปากมดลูก อาการที่แสดงให้เห็นได้แก่ เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นมากและมะเร็งลุกลามออกไปด้านข้าง หรือลุกลามไปที่อุ้งเชิงกรานก็จะมีอาการปวดหลังได้ เพราะไปกดทับเส้นประสาท

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก

              หลายๆคนคงเคยได้ยินเรื่องการรณรงค์ฉีดวัคซีนโรค มะเร็งปากมดลูก ความจริงแล้ว ระดับการป้องกันโรค มะเร็งปากมดลูก มีหลายระดับ โดยระดับแรกของการป้องกันคือ การฉีดวัคซีน ที่เชื่อว่าลดความเสี่ยงได้ประมาณ 70% นอกจากนี้การป้องกันขั้นพื้นฐานด้วยการตรวจแพปสเมียร์เป็นประจำก็เป็นเรื่องสำคัญ เด็กและหญิงสาวที่อายุต่ำกว่า 26 ปีซึ่งไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน สามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อHPV ส่วนหญิงสาวที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ควรคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก หรือแพปสเมียร์เสียก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอาจพบเชื้อ หรือมีความผิดปกติ ซึ่งจะต้องทำการรักษาให้หายเสียก่อน จึงจะรับการฉีดวัคซีนได้ในเวลาต่อมา ส่วนวัยที่ควรเริ่มฉีดวัคซีนชนิดนี้คือ 9 ปีขึ้นไป และการใช้วัคซีนในผู้หญิงวัย 9-26ปี จะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น