วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
สรุปคำถามตอบ เรื่องการต่อหมัน
สรุปคำถามตอบ เรื่องการต่อหมันโดยนายแพทย์อำนาจ เอื้ออารีมิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเอกชัยและสูติแพทย์โรงพยาบาลเอกชัย
การแก้หมันมีหลักการอย่างไร?
- พูดถึงหลักการทำหมันก่อน(ผู้หญิง)คือการตัดท่อนำไข่ออก และผูกสองข้างไว้ ทำให้ไข่ของสตรีไม่สามารถผ่านท่อรังไข่ไปได้ ไม่สามารถผสมกับตัวเชื้อผู้ชายได้ การแก้หมันก็คือ การนำท่อ สองท่อที่ตัดออกมาเชื่อมกันโดยการผ่าตัด
หมันแบบไหนที่สามารถแก้ได้?
- ทั่วโลกมีการทำหมันวิธีเดียวคือการตัดท่อนำไข่ สามารถต่อได้ขึ้นอยู่กับว่า คนที่ทำหมันไปแล้วคนทำหมันคนแรกตัดท่อนำไข่ไปมากน้อยแค่ไหน เหลือส่วนท่อนำไข่ทำการต่อได้แค่ไหน ผลสำเร็จมันขึ้นอยู่กับตรงนั้น
ข้อพิจารณาสำหรับการแก้หมัน?
- ขึ้นอยู่กับลูกค้าทำหมันไปแล้ว และอยากมีบุตรอีก หากแต่งงานใหม่ มี ครอบครัวใหม่หรือ เกิดเหตุการณ์อะไรที่ไม่คาดคิดกับบุตร สภาพคนไข้ปกติสามารถทำได้ต้องไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น โรคความดันสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ต้องได้รับการรักษาด่วน ก็สามารถแก้ได้
ต้องนอนโรงพยาบาลนานเท่าไร?
- ส่วนใหญ่ที่มาทำประมาณ 2 คืน
ค่าใช้จ่ายในการต่อหมัน?
- ประมาณ 7หมื่นบาท บวกลบ
หลังแก้หมัน สามารถตั้งครรภ์ได้เลยไหม?
- หลังแก้หมันแล้วนัดคนไข้มาเพื่อฉีดสีนัดดูท่อนำไข่ประมาณ 2 เดือน หลังแก้หมันถ้าท่อนำไข่เปิดก็ปล่อยให้ตั้งครรภ์ได้
อายุมากสามารถแก้หมันได้ไหม?
- วัยไหนที่มีบุตรได้ก็สามารถแก้ได้ ส่วนใหญ่ทั่วไปผู้หญิงอายุเกิน 40 ปี โอกาสตั้งครรภ์จะน้อยลง แต่ก็มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ฮอร์โมน หรือภาวะไข่ตก
ทำหมันมานานแล้วสามารถแก้ได้ไหม?
- แก้ได้ครับ
ถ้าหาหมอเสร็จแล้วจะสามารถทำการผ่าตัดได้เลยไหม?
- ต้องทำการตรวจคนไข้ก่อนว่ามีมะเร็งปากมดลูกไหม มี เนื้องอกมดลูกไหม โดยการตรวจภายใน และต้องตรวจผู้ชายด้วยว่ามีตัวเชื้อไหม ต้องตรวจสุขภาพทั้งผู้ชายและผู้หญิง พร้อมทั้งต้องตรวจความพร้อมในการมีบุตร
ต้องพาแฟนมาด้วยไหมคะ?
- ควรพามา ให้รับทราบว่าคุณผู้หญิง ต้องเตรียมตัวการผ่าตัด แล้วให้รู้ว่าคุณผู้ชายต้องตรวจอะไรบ้าง ตรวจเลือด ตรวจสเปิร์ม หรือน้ำเชื้อว่าแข็งแรงดีไหม
มีโอกาสสำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์คะ?
- ค่าเฉลี่ยประมาณ 50 -70 % ขึ้นอยู่กับภาวะของคนไข้ ขึ้นอยู่กับภาวะการผ่าตัดครั้งก่อน ขึ้นอยู่กับอายุคนไข้
ตอนนี้เป็นไทรอยด์ที่คอ สามารถแก้หมันได้ไหม?
- โรคประจำตัวของคนไข้ต้องดูแลรักษาก่อนต้องเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ ก่อนผ่าตัดต้องดูว่าโรคนี้ผ่าตัดได้ไหม มีปัญหาเรื่องการ บล็อกหลังหรือ ดมยาสลบไหม ถ้าเป็นอุปสรรคการผ่าตัดต้องรอก่อน ไม่ว่าจะโรคอะไรก็ตาม โรคไทรอยด์ก็เหมือนกันต้องรักษาก่อน
เคยผ่าคลอดมาแล้ว 2 ครั้ง สามารถทำการแก้หมันได้ไหม?
- ได้ แต่ว่าถ้าติดแล้วต้องทำการผ่าคลอดเป็นครั้งที่ 3 ก็ต้องดูดผนังมดลูกด้วย
มีโอกาสความสำเร็จเยอะไหมค่ะ?
- ขึ้นอยู่กับว่าคนๆนั้นถูกตัดท่อนำไข่มามากน้อยแค่ไหน เฉลี่ยก็ 50 – 70%
หลังแก้หมันกี่เดือนถึงตั้งครรภ์ได้?
- ขึ้นอยู่กับว่าคนไข้หลังผ่าตัดฟื้นตัวดีแค่ไหน ต้องนัดมาฉีดสี เอ็กซเรย์ดูว่าท่อนำไข่เปิดไหม ประมาณ 2-3 เดือนก็ปล่อยได้แล้วครับ
แก้หมันแผลผ่าตัดใหญ่ไหมค่ะ?
- ถ้าคนเคยผ่าตัดคลอดก็ต้องผ่าแผลเดิม ถ้าไม่เคยผ่าตัด ต้องผ่าตัดบริเวณหัวหน่าว ใกล้เคียงกับแผลผ่าคลอดจะเล็กกว่าแผลผ่าคลอด
ภูมิแพ้ อาหารแฝง
“อาหาร” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คนเราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่เชื่อหรือไม่คะว่า? อาหารที่เรารับประทาน เพื่อหวังที่จะต้องการพลังงานและสารอาหารจากมันนั้น มันกลับก่อให้เกิดโรคร้ายแก่เราอย่างเงียบ ๆ และโรคที่ว่านี้ก็คือ “โรคภูมิแพ้อาหารแฝง”
ด้วยสิ่งแวดล้อมและภาวะที่เร่งรีบของชีวิตคนในยุคปัจจุบัน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เราวนเวียนกับการรับประทานอาหารแบบเดิม ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเช่นนี้ ซึ่งการรับประทานอาหารซ้ำ ๆ แบบเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ นั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้อาหารแฝงนั่นเองค่ะ
โรคภูมิแพ้อาหารแฝงนี้แตกต่างจากโรคภูมิแพ้อาหารอย่างที่เรารู้จักกัน การแพ้อาหารนั้น เป็นการตอบสนองของร่างกายกับสารบางชนิดในอาหาร ทั้ง ๆ ที่สารนั้นไม่ได้เป็นสารพิษแต่อย่างใดค่ะ ซึ่งการแพ้อาหารโดยทั่วไปมักเกิดอย่างฉับพลันทันที หรือเว้นระยะเพียงเล็กน้อยหลังรับประทาน ต่างจากโรคภูมิแพ้อาหารแฝง ที่ไม่มีการแสดงออกถึงอาการแพ้แต่อย่างใด
ส่วนโรคภูมิแพ้อาหารแฝงนั้น ไม่ได้แสดงอาการเฉียบพลันทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ สะสมเป็นภัยคุกคามอย่างเงียบ ๆ โดยอาหารจะไปกระตุ้น อิมมูโนโกลบูลินชนิด จี (Ig G) แต่จะไม่ได้ไปกระตุ้นมาสต์เซลล์อย่างการแพ้อาหารปกติ ทำให้ไม่แสดงอาการแพ้ แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ เมื่อเรารับประทานอาหารวนเวียนซ้ำ ๆ ในแบบเดิมอยู่เรื่อย ๆ ร่างกายเราก็จะได้รับสารอาหารชนิดเดิม ๆ ซึ่งจะเป็นการไปกระตุ้น Ig G ให้มีการสร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมากเกินกว่าที่ร่างกายจะกำจัดให้หมดออกไปได้ จนกลายมาเป็นสารภูมิต้านทานอิสระ และค่อย ๆ กระตุ้นให้เกิดโรคเรื้อรังในที่สุด
ผลกระทบจากโรคแพ้อาหารแฝงนี้ มักขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ได้รับ ซึ่งมักมีอาการหลากหลาย ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาใหญ่ เช่น บางคนแพ้เครื่องสำอางค์ที่ใช้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว หรือเป็นสิวเรื้อรัง แม้อายุจะผ่านพ้นช่วงมีประจำเดือนแล้วก็ตาม หรือลุกลามกลายเป็นโรคเรื้อรัง เช่น หวัดเรื้อรัง ข้ออักเสบเรื้อรัง และอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง หรือออทิสติก เป็นต้น
ส่วนการทดสอบโรคภูมิแพ้อาหารแฝงนี้ ไม่สามารถทำได้ด้วยการทดสอบทางผิวหนัง แต่ต้องทำการเจาะเลือด และนำเลือดไปตรวจหาปฏิกิริยาของเม็ดเลือดขาวกับอาหารชนิดนั้น ๆ ซึ่งถ้าหากรู้ว่าตนเองแพ้อาหารชนิดใด ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้นไปซักระยะหนึ่ง อาจประมาณ 3-6 เดือน เพื่อให้ร่างกายกำจัดสารอาหารชนิดนั้นออกให้หมดก่อน และหลังจากนั้นก็จะสามารถกลับมาทานอาหารได้ตามปกติอีกครั้งหนึ่ง แต่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินด้วยการหมุนเวียนหมู่อาหาร ไม่ทานอาหารแบบเดิมซ้ำกันทุกวัน รวมทั้งจะต้องฟื้นฟูการทำงานของระบบทางเดินอาหารในแง่ของการย่อย การดูดซึม และสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ควบคู่กันไปด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำขึ้นมาอีก
ทุกสิ่งอย่าง…หากตั้งอยู่บนความสมดุล มักเกิดคุณค่าและประโยชน์แก่ตนเองอย่างยิ่ง ในการรับประทานอาหารก็เช่นกัน หากรู้จักเลือกรับประทานอาหาร โดยไม่รับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป หรือน้อยเกินไป แต่ควรรับประทานอาหารให้พอดี ซึ่งคำว่า “พอดี” ในที่นี้ ก็คือพอดีทั้งชนิดและปริมาณของอาหาร โดยให้เกิดความหลายหลาย ไม่ซ้ำซากจำเจ
การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงสารพิษต่างๆ ที่แฝงมาทางอาหาร ด้วยการวางแผนโภชนาการให้คุณได้รับสารอาหารครบถ้วน พร้อมป้องกันโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัย โทร 034-417999 หรือ สายด่วน 1715 ต่อ 122, 124
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)