Translate

วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

นอนกรน....อันตรายกว่าที่คิด


snoring 
อาการนอนกรนนั้น เกิดขึ้นขณะหลับแล้วมีสิ่งที่มาอุดกั้นทางเดินลมหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวก ตัวอย่างเช่น เมื่อเราหลับสนิทแล้วลิ้นตกไปด้านหลัง ทำให้ทางเดินลมถูกปิดกั้นเหลือช่องทางที่แคบลง ผลก็คือเกิดแรงสั่นสะเทือนเป็นเสียงกรนสนั่นหวั่นไหว สะเทือนใจ สะเทือนแก้วหูคนข้างเคียงจนนอนไม่หลับไปด้วย
การนอนกรน นอกจากจะถือได้ว่าเป็นการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้คนข้างเคียงแล้ว มันยังมีผลกระทบอย่างสำคัญต่ออารมณ์และสุขภาพร่างกายของตัวคนนั้นเอง โดยเฉพาะถ้าหากเป็นผู้ที่นอนกรนเรื้อรัง ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ ของมูลนิธิการนอนหลับ (National Sleep Foundation) ในสหรัฐอเมริกา
สาเหตุและวิธีแก้ปัญหานอนกรน
โดยปกติแล้วทุกๆ คนมีสิทธิ์นอนกรนได้ แม้กระทั่งเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงก็อาจจะนอนกรนได้ แต่การนอนกรนมีผลต่อทั้งปริมาณและคุณภาพในการนอนหลับของคุณ การนอนหลับไม่สนิทอาจทำให้เกิดความเมื่อยล้าในช่วงกลางวัน และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ และที่สำคัญ ถ้าการกรนของคุณมีเสียงดังมากจนทำให้คนที่นอนข้างๆ ไม่สามารถนอนหลับได้ คุณก็อาจจะถูกตะเพิดให้ออกไปจากห้องนอนได้ ซึ่งการแยกห้องกันนอไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาการนอนกรนที่ถูกต้อง การนอนกรนสามารถรักษาได้หลายวิธี การค้นหาสาเหตุของอาการนอนกรนของคุณนอกจากจะช่วยให้ค้นพบวิธีรักษาที่ถูกต้องแล้วยังช่วยพัฒนาสุขภาพของคุณรวมไปถึงความสัมพันธ์กับคู่นอนและการนอนหลับของคุณด้วย 
201106080782280
วิธีแก้ปัญหานอนกรน

                การแก้ปัญหาโรคนอนกรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีผลต่อการนอนหลับพักผ่อนของคุณและเพื่อนร่วมเตียง จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากรู้สาเหตุที่แท้จริง การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องสามารถช่วยในการเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น  อย่างไรก็ตาม คุณสามารถทดลองแก้ปัญหาด้วยวิธีง่ายๆ ด้วยตัวเองก่อนเพื่อดูว่าสามารถป้องกันหรือลดอาการนอนกรนได้หรือไม่ โดยการปฏิบัติดังต่อไปนี้:
- นอนตะแคง
              - ยกหัวเตียงให้สูงขึ้น
              - งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยาบางชนิด
              - ทำความสะอาดหลอดลม
              - ลดน้ำหนัก
ถ้าการทดลองทำตามวิธีการข้างบนไม่สามารถแก้อาการนอนกรนของคุณได้ ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากสาเหตุที่ซับซ้อน รวมถึงการแก้ปัญหาที่ต้องใช้วิธีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ต้องเป็นกังวลเพราะยังมีวิธีรักษาอีกหลายวิธี โดยเฉพาะถ้าคุณสามารถค้นพบสาเหตุการนอนกรนของคุณได้ จะช่วยให้คุณสามารถเลือกวิธีรักษาได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
 sleep 2
สาเหตุของการนอนกรน

                ส่วนใหญ่ผู้ที่นอนกรนเป็นประจำมักจะมีเนื้อเยื่อในลำคอมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและเสียงดังมากกว่าปกติในขณะหายใจ รวมถึงตำแหน่งของลิ้นที่อาจจะขัดขวางทางเดินของอากาศในขณะหายใจ การตรวจสอบดูว่าคุณนอนกรนอย่างไรและเมื่อไหร่จะช่วยให้เข้าใจว่าคุณสามารถที่ควบคุมการนอนกรนของคุณได้ด้วยตัวคุณเองหรือไม่ได้ดียิ่งขึ้น การให้เพื่อนร่วมเตียงบันทึกอาการนอนกรนประจำวันของคุณจะช่วยให้ตัดสินใจใช้วิธีในการรักษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เคล็ดลับ : การบอกอาการนอนกรนของคุณอาจนำไปสู่วิธีแก้ปัญหาได้


ลักษณะการนอนกรนของคุณ:
               - นอนกรนขณะปิดปาก: ตำแหน่งของลิ้นอาจเป็นสาเหตุที่สำคัญ
               - นอนกรนขณะเปิดปาก: คุณอาจมีเนื้อเยื่อในลำคอมากเกินไป
               - นอนหงาย: อาการนอนกรนอ่อนๆ อาจแก้ไขด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมในการเข้านอนหรือแม้กระทั่งไลฟ์สไตล์
               - นอนกรนในทุกท่า: อาการนอนกรนของคุณอาจเกิดจากปัญหาที่ซับซ้อนและการรักษาต้องใช้วิธีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

สาเหตุและความเสี่ยงจากโรคนอนกรน

              ปัญหาสุขภาพของผู้ที่มีคู่นอนที่นอนกรนโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากการนอนไม่หลับ ซึ่งทำให้เกิดความเมื่อยล้าและอาการตื่นตัวของระบบประสาท ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ผู้ที่นอนกรนเป็นประจำหรือมีอายุอยู่ในช่วงวัยกลางคนที่เกิดจากการอุดตันในหลอดลม อาจต้องตื่นนอนหลายครั้งในแต่ละคืนเพื่อให้หายใจได้สะดวกขึ้น อย่างไรก็ตาม การนอนกรนไม่ได้เป็นสาเหตุของการหยุดหายใจฉับพลัน
  
การผ่าตัด
              เป็นการการผ่าตัดขยายขนาดหลอดลมโดยนำเอาเนื้อเยื่อส่วนที่เกินออก ด้วยเลเซอร์ ไมโครเวฟ หรือวิธีอื่นๆ เช่น อาจจะเป็นการผ่าตัดต่อมทอลซิล หรือเนื้อเยื่อที่ด้านหลังของคอหรือข้างในโพรงจมูก หรือการปรับแต่งขากรรไกรใหม่
              การผ่าตัดด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่ได้ผล เช่น การฝังพลาสติกขนาดสั้นกว่า 1 นิ้ว เข้าไปในเพดานปากด้วยเครื่องมือพิเศษคล้ายไซริง ซึ่งอาจมีความเจ็บปวดและผลข้างเคียงเล็กน้อย วิธีดังกล่าวจะช่วยให้เนื้อเยื่อที่เกิดจากการผ่าตัดช่วยลดการสั่นสะเทือนที่ทำให้เกิดการนอนกรนได้ ข้อเสียของการรักษาด้วยวิธีนี้คือมีค่าใช้จ่ายสูงและประกันสุขภาพไม่ครอบคลุมถึงการผ่าตัดรักษาอาการนอนกรน

เคล็ดลับการรักษาการนอนกรนด้วยตัวเอง
              - ลดน้ำหนัก: การลดน้ำหนักได้ผลดีสำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนอ่อนๆ การลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยช่วยลดเนื้อเยื่อบริเวณด้านหลังของลำคอและอาการนอนกรนได้
              - นอนตะแคง: ถ้าคุณนอนหงายและมีการกรนเบาๆ การนอนตะแคงจะเป็นการช่วยรักษาอาการนอนกรนไปในตัว
              - หนุนหัวให้สูงขึ้น: พยายามยกศีรษะให้สูงด้วยการปรับหัวเตียงให้สูงขึ้น เพื่อให้อากาศไหลเวียนได้อย่างสะดวก หรือดันลิ้นและคางให้ยื่นไปข้างหน้า หรือใช้หมอนที่ออกแบพิเศษที่ทำให้กล้ามเนื้อที่คอไม่ย่น
              - งดเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานยา และอาหารบางอย่าง: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาบางอย่าง เช่น ยานอนหลับ ยาแก้แพ้ ทำให้เกิดการผ่อนคลายของลิ้นและกล้ามเนื้อที่คอ ซึ่งอาจทำให้เกิดการนอนกรนได้ ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูงและน้ำนมถั่วเหลืองทำให้เกิดเมือกหรือมีเสมหะในลำคอซึ่งอาจทำให้เกิดการนอนกรนได้เช่นกัน
             - ทำความสะอาดทางเดินหายใจ: การอุดตันของทางเดินอากาศทำให้หายใจได้ลำบากขึ้น และทำให้เกิดสุญญากาศในลำคอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการนอนกรน การลดการอุดตันในจมูกช่วยให้สามารถหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้นในขณะที่นอนหลับ ยาแก้แพ้ต่างๆ อาจช่วยรักษาหลายๆ โรคได้ แต่ทำให้กล้ามเนื้อที่คอมีการผ่อนคลายและเป็นสาเหตุของการนอนกรน


สอบถามรายละเอียด คลินิกการนอนหลับ  โรงพยาบาลเอกชัย  ได้ที่
โทร 1715 หรือ 034-417999